งานการเมือง ของ วัชระ เพชรทอง

ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี พ.ศ. 2544 นายวัชระได้ลงสมัคร ส.ส. สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขต 37 ซึ่งประกอบด้วยเขตหนองแขม แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 ได้ลงในเขตเดิม พื้นที่เดิม โดยสังกัดพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้ง แม้จะไม่ได้รับเลือกตั้ง แต่เมื่อพิจารณาคะแนนที่ได้รับ พบว่าได้รับคะแนนมากที่สุดในบรรดาผู้สมัคร ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ใน กรุงเทพมหานคร

ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2549 นายวัชระได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อลงรับสมัคร ส.ว. หรือวุฒิสภาชิกในเขตกรุงเทพมหานคร ได้เบอร์ 54 แต่ก็ไม่ได้รับการเลือกตั้งอีก

นายวัชระเคยดำรงตำแหน่งเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาและคอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์แนวหน้า อีกทั้งยังจัดรายการวิทยุท้องถิ่นในรายการชื่อ ปากเสียงชาวบ้าน ทางคลื่น A.M.873 KHz และยังคงทำกิจกรรมทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง

ในการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 นายวัชระลงรับสมัครอีกครั้ง ในเขต 11 กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย เขตภาษีเจริญ เขตบางแค และ เขตหนองแขม พรรคประชาธิปัตย์ คู่กับ นายโกวิทย์ ธารณา และ นางอรอนงค์ คล้ายนก ซึ่งนายโกวิทย์และนางอรอนงค์ได้รับเลือกตั้งทั้งคู่ แต่นายวัชระไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยมีคะแนนน้อยกว่าผู้ได้ลำดับที่ 3 คือ นายสุธา ชันแสง จาก พรรคพลังประชาชน เพียง 539 คะแนน (นายวัชระได้ 94,407 คะแนน)

วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เมื่อนายสุธา ชันแสง ลาออกไปเนื่องจากปัญหาสุขภาพ และยุติบทบาททางการเมืองทั้งหมด นายวัชระลงเลือกตั้งเขตเดิมอีกครั้ง ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเคย และได้รับเลือกตั้งไปด้วยคะแนน 49,346 ชนะคู่แข่งคือ นายแสวง ฤกษ์จรัล จาก พรรคพลังประชาชน ที่ได้ 42,537 คะแนน

ปลายปี พ.ศ. 2552 สื่อมวลชนประจำรัฐสภา ได้ตั้งฉายานักการเมืองให้นายวัชระ-นายจตุพร ว่าเป็น "คู่กัดแห่งปี" แม้ว่าทั้งคู่จะจบการศึกษาจากสถาบันเดียวกัน แต่ก็มีการวิวาทะกันบ่อยครั้งในสภาฯ[3]

ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 นายวัชระได้ย้ายจากแบบแบ่งเขตไปลงแบบบัญชีรายชื่อ โดยหลีกทางให้ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ลงแทน [4]ซึ่งนายวัชระก็ได้ลงในลำดับที่ 45[5] ได้รับเลือกตั้งไปแบบเฉียดฉิว อันเนื่องจากนายสุวโรช พะลัง ผู้สมัครของพรรคลำดับที่ 24 เสียชีวิตลงระหว่างการเลือกตั้ง นายวัชระจึงได้รับเลือกตั้งแทน[6]

ลำดับงานการเมือง

  • ปี พ.ศ. 2544 ลงสมัคร ส.ส. ครั้งแรก ในการเลือกตั้ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544 (เขตหนองแขม) ได้ 20,909 คะแนน ไม่ได้รับเลือกตั้ง
  • ปี พ.ศ. 2548 ลงสมัคร ส.ส. ครั้งที่ 2 ในการเลือกตั้ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ในเขตเดิม ได้ 42,523 คะแนน ไม่ได้รับเลือกตั้ง แต่ได้คะแนนมากที่สุด ในบรรดาผู้สมัคร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ใน กรุงเทพมหานคร
  • ปี พ.ศ. 2549 ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ ลงสมัคร ส.ว. แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
  • ปี พ.ศ. 2550 ลงสมัคร ส.ส. ครั้งที่ 3 ในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 พื้นที่กรุงเทพมหานคร เขต 11 ได้ 94,407 คะแนน ได้อันดับ 4 ไม่ได้รับเลือกตั้ง
  • ปี พ.ศ. 2551 ลงสมัคร ส.ส. ครั้งที่ 4 ในการเลือกตั้งซ่อม (แทนนายสุธา ชันแสง ที่ลาออก) 26 ตุลาคม พ.ศ. 2551 พื้นที่กรุงเทพมหานคร เขต 11 ได้รับเลือกตั้ง
  • ปี พ.ศ. 2554 ลงสมัคร ส.ส. ครั้งที่ 5 ในการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 45 ได้รับเลือกตั้ง

แหล่งที่มา

WikiPedia: วัชระ เพชรทอง http://www.astv-tv.com/news1/viewnews.php?data_id=... http://www.prachatai.com/journal/2009/12/27163 http://news.sanook.com/crime/crime_23753.php http://www.oknation.net/blog/kittinunn/2007/08/06/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/B/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/B/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/B/... https://www.khaosod.co.th/politics/news_838038